วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สื่อกราฟิกเพื่อการศึกษา

##ความหมายสื่อกราฟิก##

กราฟิก (Graphic) หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการสื่อความหมายโดยการใช้รูปภาพ รูปถ่าย ภาพวาด
ตัวอักษร สีมาใช้ลิตงานด้านออกแบบโดยใช้หลักการทางศิลปะเข้ามาช่วย กราฟิกทางการศึกษา หมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอด เรื่องราว แนวคิด ความรู้ข้อเท็จจริงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม หรือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน

##ความสำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา##

1.สร้างความเป็นรูปธรรมให้กับผู้เรียน
2.ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจได้มากว่าการฟังจากการบรรยายเพียงทางเดียว
3.ช่วยให้ครูได้เนื้อหามากขึ้นกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว
4.ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อเรื่องได้ดีและนานกว่าฟังบรรยาย
5.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดเเละเเก้ปัญหาในการเรียนได้ดี
6.ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน

##ประโยชน์และคุณค่าของสื่อกราฟิก##

สื่อกราฟิกทั้งหลายถ้าเลือกมาใช้ให้เหมาะสมแล้วมีประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนการสอนวัสดุแต่ละอย่างมีประโยชน์ หรือมีคุณค่าต่อการสอนแตกต่างกัน ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดตอนต่อๆไป ส่วนประโยชน์โดยทั่วไปของวัสดุกราฟิก ต่อการเรียนการสอนนั้น มีดังนี้

1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านประสาทรับรู้ หลายทางขึ้น
2. ช่วยให้ครูสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
3. ทำให้การเรียนการสอนดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วได้เนื้อหามากประหยัดเวลา
4. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจไม่เบื่อหน่าย และร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยดี
5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจเรียนได้เร็วและจำได้นาน
6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆได้
7. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น
8. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษาลักษณะส่วนรวมของสิ่งนั้นได้
9. ขยายสิ่งเล็กๆ ให้สะดวกต่อการศึกษาได้
10.นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้เช่นภาพถ่ายของวัตถุโบราณที่ไม่มีของจริงแล้ว
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อกราฟิกทางการศึกษา
ข้อดี
1. ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ดี
2. ใช้ในการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการและงานประชาสัมพันธ์
3. สามารถนำมาประกอบเป็นวัสดุฉาย
4. ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว
ข้อจำกัด
1. ใช้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
2. นักเรียนหรือผู้ดูไม่เข้าใจอาจตีความผิด
3. จำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญหรือมีทักษะทางศิลปะมาช่วยผลิตส่วนประกอบที่สำคัญของสื่อกราฟิกทางการศึกษา

ภาพประกอบ
ตัวอักษร
สี
ประเภทของสื่อกราฟิกทางการศึกษา

แผนสถิติ (Graphs)
แผนภูมิ (Charts)
แผนภาพ (Diagrams)
ภาพโฆษนาและโปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons)
ภาพพลิก (Flip Charts)
สัญลักษณ์ (Symbol)
กระดานชอล์ก (Chalk Board)
แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
รูปภาพ (Pictures)
เครื่องฉายสไสด์ (Slide)
แผ่นภาพโปร่งใส

แผนสถิติ (Graphs)
ความหมายเเละลักษณะของแผนสถิติ
แผนสถิติ Graphs คือโสตทัศนวัสดุที่เเสดงให้เห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลขต่างๆที่เเสดงให้เห็นหัวข้อสำคัญของเรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว เเละได้ผลดีกว่าตารางตัวเลขทั้งยังเเสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เเนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงของจำนวนข้อมูลที่เป็นปริมาณอย่างเด่นชัดลักษณะของแผนสถิติประกอบด้วยเส้นต่างๆทั้งในแนวนอนเเละเเนวตั้ง ตัวเลข ตัวอักษร ชื่อเรื่อง

ประเภทของแผนสถิติ
1. แผนสถิติเเบบเส้น ( Line Graphs or Curve Graphs )
2. แผนสถิติเเบบเเท่ง ( Bar Graphs )
3. แผนสถิติเเบบวงกลม ( Circle or Pie Graphs )
4. แผนสถิติเเบบรูปภาพ ( Picture Graphs )
5. แผนสถิติเเบบพื้นที่ ( Area Graphs or Solid Figures )
6. แผนสถิติแบบกำหนดจุด(ScatterPlot)

หลักการใช้แผนสถิติประกอบการสอน
1. ควรบอก สถิติ จำนวน ปริมาณ ให้ถูกต้องใกล้เคียงมากที่สุด
2. แผนสถิติใช้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา แต่ผู้เรียนต้องตีความ ดังนั้นจึงควรใช้ภายหลังมีประสบการณ์ จากแหล่งวิชาอื่น เป็นพื้นมาเเล้ว
3. การใช้แผนสถิติควรจะพิจารณาจากเนื้อหาวิชา ข้อมูลเเละลักษณะของเเผนสถิติ

แผนภูมิ (Charts)
ความหมายและลักษณะของแผ่นภูมิ
แผนภูมิ Charts คือ โสตทัศนวัสดุที่เเสดงให้เห็นความสำพันธ์ของข้อเท็จจริงหรือเเนวคิดต่าง ๆแสดงการเปรียบเทียบด้านปริมาณ พัฒนาการ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว ต่างๆอย่างชัดเจน แผนภูมิประกอบด้วย รูปภาพสัญลักษณ์ ตัวหนังสือตัวเลขเเละสีรวมกัน

ประเภทของแผนภูมิ
1.แผนภูมิต้นไม้ (Tree Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงของสิ่งที่เป็น ส่วนรวม หรือเป็นความคิดรวบยอด สามารถแยกออกเป็นส่วนย่อยได้หลายส่วน เหมือนกับ ต้นไม้ที่เจริญจากลำต้นแล้วแตกแยกเป็นกิ่งก้านต่างๆ 2.แผนภูมิเเบบสายธาร (Stream Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าของสิ่งหนึ่ง หรือคู่หนึ่งที่เป็นส่วนรวมเกิดจากการรวบรวมของสิ่งย่อยๆ หลายสิ่งเข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนกับแม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่เกิดจากแม่น้ำสายย่อยไหลมารวมตัวกัน
3.แผนภูมิแบบองค์การ (Organiztion Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยงานในองค์การสถานที่ ทำงาน แบ่งกลุ่ม และประเภทของสิ่งต่าง ๆนิยมใช้เส้นโยง เส้นตรง ให้เห็นความสัมพันธ์ของหน่วยใหญ่ และหน่วยย่อย
4.แผนภูมิเเบบต่อเนื่อง (Flow Charts) เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นลำดับของการทำงาน กระบวนการ หรือกิจกรรมที่เป็น ไปตามลำดับขั้นแสดงการเจริญเติบโตที่เป็นวัฎจักรหรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ของสิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับลำดับของกิจกรรม หรือเวลา
5.แผนภูมิเเบบเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง รูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ฯลฯ ของสิ่งของต่างๆ เช่น เปรียบเทียบขนาด ของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบลักษณะของ งูมีพิษและงูไม่มีพิษ
6.แผนภูมิเเบบตาราง (Tabular Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองข้อมูล เช่นความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ตารางเรียน ตารางสอน ตารางกำหนดการ ต่างๆ เหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในประวัติศาสตร์
7.แผนภูมิวิวัฒนาการ (Evaluation Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีวิวัฒนาการติดต่อกันมา ไม่ขาดสายตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เช่น การแสดงวิวัฒนาการของ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน
8.แผนภูมิเเบบอธิบายภาพ (Achievement Charts) ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น
9.แผนภูมิขยายส่วน ( Enlarging Chartsz) เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น

หลักการใช้แผนภูมิประกอบการสอน
1. เลือกแผนภูมิให้ตรงกับเรื่องที่สอน
2. ใช้ประกอบการอธิบายของครู
3. ใช้ทบทวน
4. ช่วยให้กระตุ้นให้นักเรียนอยากค้นคว้าหาความรู้
5. ช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดเเละจินตนาการ
6. การใช้เเผนภูมิควรใช้ประกอบกับวัสดุอื่นด้วย
7. ควรให้นักเรียนร่วมในการใช้ การอธิบายและมีกิจกรรมต่อเนื่อง
8. แผนภูมิเมื่อใช้เเล้วควรจะติดไว้ให้เด็กดูภายหลัง

แผนภาพ (Diagrams)
ความหมายเเละลักษณะของแผนภาพ
แผนภาพ Diagrams เป็นทัศนสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมกว่าสื่อกราฟิกชนิดอื่นๆ ใช้เเสดงหรืออธิบายให้เห็นถึงโครงสร้างภายในที่มีความสัมพันธ์กันถึงโครงร่าง กระบวนการของสิ่งหรอพื้นที่ ซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอกแผนภาพมีชื่อเรียกอีอย่างว่า แผนผังแผนภาพประกอบด้วย เส้น สัญลักษณ์ ภาพ หรือสีแผนภาพที่มีขนาดเท่าของจริงอาจขยายหรือย่อได้ตามความเหมาะสม

ประเภทของแผนภาพ
1. แผนภาพลายเส้น
เป็น แผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรง และข้อความประกอบกัน เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งลักษณะและตำแหน่ง และความสัมพันธ์ ของภาพที่แสดง
2. แผนภาพเเบบบล็อก
เป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ แสดงความสัมพันธ์ของระบบการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยไม่เน้นรายละเอียดของการทำงาน
3. แผนภาพแบบรูปภาพ
เป็นแผนภาพ ที่ใช้ลายเส้นเขียน เป็นภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงต้องการให้ดูเหมือน หรือใกล้เคียงเท่านั้น ผู้ดูจะเกิด ความเข้าใจ ได้เองแผนภาพแบบนี้ จึงเหมาะ แก่การแสดง หลักการทำงาน ถ้าภาพ ที่วาดเหมือนจริง มากจะกลายเป็น แผนภูมิอธิบายภาพ
4. แผนภาพแบบผสม
เป็นแผนภาพ ที่ใช้เทคนิค การเขียนลายเส้น บนรูปภาพเพื่อเน้น ให้เห็นความสำคัญ เฉพาะ
บางส่วน โดยเป็นการรวมทั้งรูปภาพ และลายเส้น เข้าด้วยกัน

หลักการใช้แผนภาพประกอบการสอน
1. ครูจำเป็นต้องอธิบายถึงรูปภาพ สัญลักษณ์หรือลายเส้นต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแผนภาพว่าหมายถึง อะไรให้นักเรียนทราบก่อน นักเรียนจะได้เข้าใจดียิ่งขึ้น
2. การใช้แผนภาพ ที่ดีที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนกับกลุ่มผู้เรียนหรือประกอบอาชีพในด้านเกี่ยวข้องกับเเผนภาพนั้นเพราะจะได้เข้าใจ
3. ควรใช้สื่อทัศนูปกรณ์อื่นๆมาประกอบในการใช้เเผนภาพ
4. ในขณะที่ครูใช้แผนภาพครูควรจะเขียนไปด้วยในขณะที่อธิบาย จะช่วยให้ผู้เรียนไม่
สับสน
5. ครูควรให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมในการใช้และในแผนภาพเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้อ่านแผนและดูแผนภาพเป็น